Assignment 8

ให้แต่ละกลุ่มดูวิดีโอเรื่อง “บล็อกเชนเปลี่ยนแปลงการเงินและธุรกิจได้อย่างไร” พร้อมทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “บล็อกเชน” (Blockchain) สรุปเนื้อหาไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ เขียนลงใน comment ในเว็บไซต์ของรายวิชา

Deadline: 28 Apr 2017

12 thoughts on “Assignment 8

  1. Block Chain
    Block Chain คือเทคโนโลยีที่ใช้บันทึกข้อมูลแบบ Distributed Ledger (รายการเดินบัญชี) โดยทุกข้อมูลจะมีการเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ซึ่งการจะสร้าง Block เพื่อบันทึกข้อมูลใหม่เข้าไปใน Block Chain ได้นั้น จำเป็นจะต้องผ่านการตรวจสอบข้อมูลจากทั้งเครือข่าย (Consensus Network) เสียก่อน ถึงจะสามารถสร้างข้อมูลในรูปของ Block ใหม่ เข้าไปในเครือข่ายได้
    Block Chain เป็นการเปิดรายการเดินบัญชีของผู้ใช้ทุกคนผ่านระบบ Distributed Ledger และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสมาชิกในการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมเพราะทุกคนจะมีข้อมูลเหมือนกันหมด หากธุรกรรมใดที่มีข้อมูลผิดไป ระบบจะไม่อนุญาตให้ทำธุรกรรมนั้นได้ หรืออีกแง่หนึ่งก็คือไม่ยอมรับการเพิ่ม Block ใหม่เข้ามาในระบบ ด้วยกระบวนการเหล่านี้จึงทำให้ Block Chain ได้รับการจับตามองอย่างมากจากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการเงินธนาคาร”
    จุดเด่นของเทคโนโลยี Block Chain
    1. ทุกคนมีรายการเดินบัญชีของตัวเอง และสามารถดูรายการเดินบัญชีของทุกคนในระบบได้ ผ่าน Address ที่ไม่ระบุตัวตน มีความโปร่งใสทุกขั้นตอน
    2. การทำธุรกรรมได้ต้องผ่านการตรวจสอบจากเครือข่ายของ Node ต่างๆ ก่อนว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการฉ้อโกงน้อยลง
    3. มีการเข้ารหัสลับขั้นสูง แม้จะเห็นรายการเดินบัญชีทั้งหมด แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครคือเจ้าของ ผู้ที่จะแก้ไขรายการเดินบัญชีได้ คือ เจ้าของที่มี Private Key เท่านั้น ส่งผลให้มีความปลอดภัยสูง
    4. ธุรกรรมที่เกิดขึ้นอยู่ในรูปของ Block ที่ต่อกันไปเรื่อยๆ และไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้
    5. ค่าธรรมเนียมต่ำเพียงแค่ 0.01-0.05% ของมูลค่าธุรกรรมเท่านั้น
    Block Chain ได้รับการจับตามองอย่างมากจากหลายธุรกิจ เนื่องจากจุดเด่นเรื่องความโปร่งใสและมีโอกาสในการฉ้อโกงที่น้อยมาก ทำให้ภาคธุรกิจทั่วโลกตื่นตัวและพยายามศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจตัวเอง ทำให้โอกาสที่ Block Chain จะแพร่หลายในอนาคตมีสูงมาก เนื่องจากข้อมูลจะถูกสร้างต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่สามารถแก้ไขได้ จึงเหมาะสมกับธุรกิจที่ต้องเน้นความถูกต้องและโปร่งใส

  2. Taurus
    บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆคนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิงก์ต่อไปยังทุกๆ คน โดยที่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ ประโยชน์ของมันคือนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง การทำธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น เช่น เวลาที่เราต้องการโอนเงินให้ใครสักคนเราก็ไม่ต้องโอนผ่านธนาคารซึ่งเป็นตัวกลางแต่ใช้บล็อกเชนเมื่อส่งข้อมูลรายละเอียดแล้วก็จะมี uber มาส่งเงินให้ถึงที่ภายในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งสะดวกรวดเร็วและเสียค่าบริการถูกกว่าการโอนผ่านธนาคาร
    บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
    บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล
    จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย
    Five transformation for a prosperous world
    1. Protecting rights through immutable records
    2. Creating a true sharing economy
    3. Ending the remittance rip-off
    4. Enabling citizens to own and monetize their data
    5. Ensuring compensation for the creators of value

  3. Block Chain เป็นเทคโนโลยีช่วยทำมาซึ่งความปลอดภัยน่า เชื่อถือโดยไม่อาศัยคนกลาง ปกติเราต้องพาดพิงถึงคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรมออนไลน์ การเกิดของ block chain มีส่วนช่วยอย่างมาก คือเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆก็สามารถทำให้สะดวกมากขึ้น ‘transfer of trust in a trustless world’ เพราะแม้ 2 บุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ
    การทำงานของ block chain เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบหนึ่ง ที่ทำให้ Digital transaction สามารถแชร์ไปเสมือนห่วงโซ่ ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆคนเป็นโดยที่ทราบว่า ใครที่เป็นเจ้าของ และมีสิทธิจริงๆ เมื่อบล็อกข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ใน บล็อกเชน เป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง ถ้ามีใครที่จะต้องเพิ่มข้อมูล คนในเครือข่ายต้องมีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction จะได้รับอนุญาตเมื่อเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าถูกต้อง บล็อกเชนนำไปประยุกต์ได้ เช่น วงการอสังหาริมทรัพย์สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ ตามที่ระบุสัญญาได้
    ระบบของ block chain จะเป็นการเปิดเผยข้อมูล ทำให้มีคนเห็นได้แต่เขาจะเห็นเป็นรหัส ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเราเท่านั้นจึงจะมีกุญแจเข้าไปอ่าน Code ว่ารายการนั้นคืออะไร แต่ด้วยความที่ว่าทุกคนจะเห็นการส่งผ่านข้อมูลกันหมด จะทำให้การเจาะข้อมูลนั้นทำได้ยากขึ้น หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวทุกคนจะทราบว่ามีคนพยายามจะเจาะข้อมูล ซึ่งระบบก็จะทำการปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงนั้นไป ถ้าจะเจาะข้อมูลก็ต้องเจาะกันในระบบทั้งหมดที่กำลังแชร์กันอยู่
    นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยแล้ว จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ส่งหากันนั้นจะเป็นลักษณะ User ต่อ User โดยไม่มีตัวกลาง เช่น ธนาคาร เหมือนกับเราเอาเงินสดที่เป็นกระดาษยื่นให้เพื่อนจะไม่เสียค่าธรรมเนียม(ในอนาคตอาจจะไม่ต้องใช้เงินที่เป็นกระดาษ) แต่ถ้าเราโอนเงินให้เพื่อนผ่านธนาคาร พอข้ามแบงค์ ข้ามเขตก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายทันที แต่ด้วยระบบนี้ก็คือ เอาเงินขึ้นระบบ Online แบบ Peer to Peer (บุคคลต่อบุคคล) ได้เลย การโอนเงินก็ย่อมถูกกว่าเดิมหรือไม่เสียเลยก็ได้เพราะได้ผ่านธนาคารอยู่แล้ว ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบได้ ปลอดภัย และประหยัด

  4. Blockchain เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาและมีประโยชน์ในวงการการเงินธนาคารเป็นอย่างสูงมาก เนื่องจากผู้พัฒนามองว่าในทุกๆวัน ทุกคนมีการโอนเงินหากัน ซื้อของ จ่ายค่าสินค้าและบริการ แต่บัญชีนั้นถูกเก็บเป็นความลับกันเสมอ มีเพียงธนาคารเท่านั้นที่ทราบ หากเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างออกมาย่อมทำให้เกิดการแชร์ข้อมูลทางการเงินอย่างโปรงใส ใครโอนหากันอย่างไรบ้าง จะถูกรวบรวมเอาไว้ ระบบดังกล่าวเรียกว่า Decentralized Network
    ระบบในรูปแบบนี้หากเปิดเผยข้อมูลจะมีคนเห็น แต่เขาจะเห็นเป็นรหัส ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเราเท่านั้นจึงจะมีกุญแจเข้าไปอ่าน Code ว่ารายการนั้นคืออะไร แต่ว่าทุกคนจะเห็นการส่งผ่านข้อมูลกันหมด จะทำให้การเจาะข้อมูลนั้นทำได้ยากขึ้น หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวทุกคนจะทราบว่ามีคนพยายามจะเจาะข้อมูล ซึ่งระบบก็จะทำการปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงนั้นไป ถ้าจะเจาะข้อมูลก็ต้องเจาะกันในระบบทั้งหมดที่กำลังแชร์กันอยู่
    นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยแล้ว จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ส่งหากันนั้นจะเป็นลักษณะ User ต่อ User โดยไม่มีธนาคารเป็นตัวกลาง ไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเราโอนเงินให้ผ่านธนาคาร พอข้ามแบงค์ ข้ามเขตก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายทันที แต่ด้วยระบบนี้ก็คือ เอาเงินขึ้นระบบ Online แบบ Peer to Peer (บุคคลต่อบุคคล) ได้เลย การโอนเงินก็ย่อมถูกกว่าเดิมหรือไม่เสียเลยก็ได้เพราะได้ผ่านธนาคารอยู่แล้ว
    โดยสรุปก็คือนวัตกรรมของ ‘Blockchain’ นั้นเป็นการเปลี่ยนระบบจากศูนย์กลางมาเป็นการสร้างเครือข่ายข้อมูลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและโปร่งใสมากยิ่งขึ้น รวมถึงการลดต้นทุนในการทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ได้ใช้ในเรื่องของการเงินได้อย่างเดียวเท่านั้น นำไปใช้ในเรื่องการซื้อขายหุ้น อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆได้อีกมาก

  5. – Blockchain
    Blockchain คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (database) แบบหนึ่งของระบบ ที่ไม่ต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม ไม่ต้องมีการรวบรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ทำให้ลดการเกิดปัญหาต่างๆ เช่น การโกงก็จะเกิดได้ยากขึ้น (ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลแบบมีคนกลาง เช่น เรื่องการดำเนินรายการทางการเงินในระบบธนาคาร ข้อมูลทั้งหมดของตัวบุคคลรวมถึงเงินของเราก็จะไปรวมอยู่ที่คนกลาง ซึ่งถ้าคนกลางในที่นี้ไว้ใจได้ก็จะไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าไว้ใจไม่ได้หรือระบบกลางโดน Hack ข้อมูลของตัวบุคคลรวมทั้งเงินที่อยู่กับคนกลางก็จะเกิดปัญหาหรือเสียหายขึ้นได้ )ทำให้ลดปัญหาตัวกลางและการคอรัปชั่นได้
    – การทำงานของ Blockchain
    Blockchain เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลาง โดยมีค่าเงินดิจิตอลเป็นสื่อกลาง (bitcoin) โดยจะใช้การบันทึกข้อมูลของทุกๆคนที่ใช้ blockchain ไว้โดยใช้ protocol ระดับสูง เป็นการเก็บข้อมูลแบบรายการเดินบัญชีสาธารณะ ทำให้ผู้ใช้ในระบบทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แต่เป็นระบบที่ปลอดภัยเพราะแต่ละรายการเดินบัญชีจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ใช้ในเครือข่ายก่อนและต้องมีการแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรมตามที่เจ้าของได้กำหนดไว้ แล้วข้อมูลเหล่านั้นถึงจะถูกเก็บอยู่ในรูปของ Block และเมื่อมีรายการเดินบัญชีชุดใหม่เข้ามาก็จะต้องรอการยืนยันและนำไปเก็บอยู่ในรูปของ Block เช่นกัน แล้วถึงจะนำ Block เหล่านี้มาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวไปเรื่อยๆ (Blockchain) และเนื่องจากการเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆแบบนี้เองที่ทำให้เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง เพราะถ้าต้องการ Hack ข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งจึงจำเป็นต้อง Hackข้อมูลอื่นที่พ่วงติดกันมาด้วยจนกว่าจะสุด chain ซึ่งการ Hack ข้อมูลได้ทั้งหมดต้องใช้คอมที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการทำ และซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ปัจจุบันก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งแน่นอนว่าในขณะที่กำลัง Hack ข้อมูลใหม่ก็มีเข้ามาเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดการ Hack ข้อมูลได้ยากกว่าระบบที่มีการเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลาง
    – Bitcoin กับ Blockchain เกี่ยวข้องกันอย่างไร
    Bitcoin คือสกุลเงินบนโลกดิจิตอลและมีการขึ้นลงตามราคาตามตลาด Blockchain ไม่ใช่ Bitcoin แต่ Bitcoin ได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ให้มีความปลอดภัยสูง
    – ประโยชน์ของ Blockchain
    คือ การที่เรามีทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นนามธรรม เมื่อเรานำไปลงระบบ ก็จะทำให้ชัดเจนในรายละเอียดว่าผลงานนี้เป็นของเราแน่นอน ไม่มีผู้อื่นที่จะมาแอบอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ และก็การที่ไม่ต้องผ่านตัวกลางเลย ทำให้ไม่ต้องเสียค่าบริการต่างๆหลายทอด เงินก็จะเข้ามาที่เราโดยตรง ทั้งหมดนี้ก็ทำให้การเคลื่อนไหวของพวกทรัพย์สินต่างๆสะดวกขึ้นมาก ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ทรัพย์สินนั้นก็ยังเป็นของเราอยู่ดี สามารถนำไปปรับใช้กับทุกๆระบบได้อย่างดีอีกด้วย และช่วยทำธุรกรรมต่างๆเช่น ในคลิปตัวอย่างการส่งเงินให้แม่ โดยที่แค่กดๆในโทรศัพท์แล้วมีคนเอาเงินมาให้ คือ คนที่ช่วยทำให้กระบวนการนี้สำเร็จหรือ miners ในพื้นที่นั้น ก็จะได้ค่าตอบแทนเป็นเงินดิจิตอล ซึ่งมันเป็นรูปธรรมและอยู่ในระบบของ blockchain ทำให้ไม่สามารถมีการโกงกันได้ ความปลอดภัยจึงอยู่ในระดับที่สูงมาก

  6. การทำธุรกรรมทางการเงินเดิมต้องเดินทางไปที่ธนาคาร หรือ ใช้อินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง เพื่อเข้าไปดูข้อมูล แต่เทคโนโลยี Block chain ที่ไม่มีตัวกลางอย่างธนาคารทำหน้าที่เก็บรายการเดินบัญชีและทำธุรกรรมให้ อีกทั้งไม่มีการทำ KYC(การระบุตัวตนผู้ใช้ โดยธนาคารจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมให้กับลูกค้า) อีกด้วย แต่ในโครงสร้างของ Block Chain จะมีส่วนสำคัญคือ Node ที่เชื่อมระหว่างกันจำนวนมาก และแต่ละ Node จะมี รายการเดินบัญชี ของผู้ใช้ทุกคนในเครือข่าย โดยแสดงผลผ่าน Address ที่ไม่ระบุตัวตน ทำให้ทุกคนในเครือข่ายสามารถเห็นการเดินบัญชีทางการเงินของผู้ใช้รายอื่นๆ ทั้งหมด แต่ไม่สามารถระบุ ได้ว่าแต่ละ Address คือผู้ใช้รายใด ทำไห้มีความโปร่งใสทุกขั้นตอน การทำธุรกรรมได้ต้องผ่านการตรวจสอบจากเครือข่ายของ Node ต่างๆ ก่อนว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการฉ้อโกงน้อยลง และค่าธรรมเนียมต่ำเพียงแค่ 0.01-0.05% ของมูลค่าธุรกรรมเท่านั้น

  7. จากวิดิโอ “บล็อกเชน” (Blockchain) เป็นการทำธุรกรรมโดยไม่ผ่านคนกลางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยการกระจายข้อมูล ซึ่งการกระจายข้อมูลในเชิงการเงินจะทำให้แฮ็กเกอร์มีความยากในการทำงานเพราะต้องแฮ็กขข้อมูลในทุกๆเครื่องที่กระจายทั่วโลกและยังมีการเปิดทำธุรกิจบนบล็อกเชนโดยไม่ผ่านคนกลาง
    ข้อมูลเพิ่มเติม
    “Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง“โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆแน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลงการมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น creative มากขึ้น innovative มากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น มันเรียกได้ว่าเป็น “transfer of trust in a trustless world” เพราะถึงแม้สองบุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ พูดถึงคำว่าแลกเปลี่ยนข้อมูล ก็มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว เราจึงตื่นเต้นกันว่าบล็อกเชนนี่แหละ ต่อไปจะเป็น Game changer
    การทำงานของ Blockchain
    บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ
    เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง
    Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร
    บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
    บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล
    จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย
    และเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์
    ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้
    เช่น วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนจะเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงสามารถไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ดังที่มีการสรุปไว้ในแผนภาพนี้

  8. “บล็อกเชน” (Blockchain) คือ เทคโนโลยีเบื้องหลัง “บิตคอยน์” (Bitcoin) สกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ ชื่อดัง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่รองรับว่าเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในไทย
    เศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่ของเราจำเป็นต้องอาศัย “ตัวกลาง” ในการสร้างความมั่นใจ เช่น เราอาศัยธนาคารเวลาโอนเงิน อาศัยทนายเวลาเจรจาทำข้อตกลงทางการค้า อาศัยนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เวลาหาซื้อบ้าน ฯลฯ แต่บล็อกเชนมีศักยภาพที่จะทำให้ “ตัวกลาง” ทั้งหมดนี้ไร้ความหมาย
    บล็อกเชนคือ “ระบบการจัดการฐานข้อมูล” สำหรับการยืนยันตัวตน เคลียร์ริ่งธุรกรรม สืบสาวร่องรอย และบันทึกความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ (เช่น สกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างบิตคอยน์) หรืออะไรก็ตามที่เปลี่ยนมือกันได้ ระบบบล็อกเชนตั้งอยู่บน “บัญชีธุรกรรม” (ledger) อิเล็กทรอนิกส์ บัญชีนี้เก็บไว้ในเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ เรียกว่า “โหนด” (node) แต่ละจะโหนดมีสำเนาบัญชีธุรกรรมของตัวเอง และถูกก๊อปปี้ไปอยู่ในทุกโหนดในเครือข่ายและอัพเดทล่าสุดพร้อมกันตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่มีเซิร์ฟเวอร์ของใครเป็น “เจ้าของ” บัญชีธุรกรรมแต่เพียงผู้เดียว และบันทึกธุรกรรมทุกรายการตั้งแต่บัญชีนี้ถือกำเนิดมา ไม่ว่าจะกี่สิบหรือกี่ร้อยล้านธุรกรรม จึงเป็นที่มาของคำว่า “เชน” (chain หรือ ห่วงโซ่) ใน “บล็อกเชน”
    เมื่อมีธุรกรรมใหม่ มันจะเข้าสู่เครือข่ายบล็อกเชนในรูปที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน (unconfirmed) ทุกโหนดจะรับรู้ว่า มีธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นแล้ว โหนดประมวลผลแต่ละโหนดจะจัดธุรกรรมนี้ให้อยู่ในรูปของ “บล็อกข้อมูล” (block ใน “บล็อกเชน”) จากนั้นก็เอาบล็อกใหม่นี้ไปเชื่อมต่อกับบล็อกเก่าร้อยต่อกันเหมือนสายโซ่ วิธีการนี้จะทำให้ยากต่อการเจาะหรือแฮกข้อมูลเพราะจะต้องแฮกบล็อกทุกบล็อกไปพร้อมๆกันจึงจะสามารถทำได้สำเร็จ ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น
    นอกจากนี้บล็อกเชนยังสามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องเน้นความถูกต้องและโปร่งใสได้อีกมากมาย เช่น การธนาคาร (Banking) สามารถจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยและเป็นศูนย์กลางการทำธุรกิจทั้งหมด ทำให้ลดต้นทุนได้มากถึงสองหมื่นล้านดอลล่าห์, ระบบการโอนเงินที่ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง,ระบบความปลอดภัยด้านคอมพิวเตอร์,ประวัติการศึกษา เพื่อให้มั่นใจได้ว่านักเรียนคนนี้ได้ผ่านการเรียนการสอนของโรงเรียนอย่างแท้จริง, ระบบการออกเสียง (Voting)ในการเลือกตั้ง, ธุรกิจเช่าและขายรถยนต์, ธุรกิจเพลงออนไลน์ ช่วยในการแก้ปัญหาการชำระเงินนั้นส่งตรงจากผู้ฟังไปยังศิลปินได้โดยตรง เป็นต้น

  9. #บล็อกเชนเปลี่ยนแปลงการเงินและธุรกิจได้อย่างไร#
    Block chain เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และไม่อาศัยคนกลาง โดย Block chain จะทำให้ข้อมูลของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆคนได้ เปรียบเสมือนห่วงโซ่ และห่วงโซ่แต่ละอันเชื่อมต่อกัน ทำให้ข้อมูลของแต่ละคนเชื่อมต่อกันและบุคคลภายนอกขโมยข้อมูลได้ยากขึ้น เนื่องจากเมื่อจะทำการเจาะรหัสของบุคคลหนึ่งในระบบ จะต้องทำการเจาะระบบของคนที่อยู่ลำดับถัดไปให้ครบทุกคน จึงจะสามารถขโมยข้อมูลได้ ซึ่งถือว่าBlock chain เป็นเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของข้อมูล

    เนื่องมาจากความสามารถอง block chain ในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล biteoin ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยี ที่นำ block chain มาใช้ในระบบ bitcoin เป็นสกุลเงินบนโลกดิจิตอล เมื่อทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนทางการเงินผ่านโลกดิจิตอล ก็จะเกิดผ่าน bitcoin ซึ่งเมื่อนำ block chain มาใช้จะทำให้การซื้อขายปลอดภัย ซึ่งปกติการส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจะเป็นการส่งสำเนาให้แก่กัน ไม่ใช่ส่งต้นฉบับ เมื่อจะทำธุรกรรมทางการเงิน จึงต้องอาศัยคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม แต่ก็เหมือนรวมข้อมูลไว้ในที่เดียว ทำให้แฮคเกอร์โจรกรรมข้อมูลได้ง่าย blockchain จึงมีส่วนช่วยอย่างมาก

    ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ blockchain ในวงการอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายที่ดิน บางครั้งข้อมูลอาจมีความผิดพลาด ไม่ตรงกันจนทำให้เกิดการสูญเสียอสังหาริมทรัพย์ได้ ซึ่ง blockchain จะทำให้ทุกคนเห็นข้อมูลตรงกันและไม่มีความผิดพลาด

  10. บล็อกเชนคือระบบการจัดการฐานข้อมูล สำหรับการยืนยันตัวตน เคลียร์ริ่งธุรกรรม สืบสาวร่องรอยและบันทึกความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ หรืออะไรก็ตามที่เปลี่ยนมือกันได้ โดยไม่มีคนกลางมาคอยจัดการ มีบิตคอย์น์(Bitcoin)คือสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์และสกุลเงินดิจิตอลตัวนี้เองทำให้ผู้คน สามารถก่อตั้งเครดิตขึ้นมาและทำธุรกิจได้ โดยไม่ต้องมีบุคคลที่สามเมื่อเกิดการhackข้อมูลของเราระบบจะhackบล็อกที่ว่านั้น บวกกับบล็อกก่อนหน้านั้นทั้งหมด หรือประวัติของการค้าขายในบล็อกเชนทั้งหมดนั้น ไม่เพียงในคอมพิวเตอร์แค่เครื่องหนึ่งแต่ทั่วทั้งคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่อง ในเวลาเดียวกัน ทั้งหมดนั้นใช้การเข้ารหัสระดับสูง เราสามารถไว้วางใจได้ ข้อดีของบล็อกเชน ได้เเก่ แก้ปัญหาการเหลื่อมลํ้าได้เพราะ มีคนเข้ามามีส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจมากขึ้น แล้วก็ทำให้มั่นใจได้ว่า พวกเขาได้ค่าตอบแทน
    ระบบจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของเราได้ เป็นพื้นฐานของสังคมที่เป็นอิสระ เช่นปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา พวกลิขสิทธิ์ต่างๆ

  11. Block chain
    โดยปกติการส่งผ่านข้อมูลที่สำคัญ มักจะมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ พิสูจน์ตัวตน และดูแลเรื่องระบบธุรกรรมทางการเงิน และการทำงานที่ผ่านระบบคนกลางก่อให้เกิดปัญหามาก คือ การแฮ็กข้อมูล เป็นเพราะการรวมข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลาง แต่ block chain จะเป็นระบบการเก็บข้อมูลที่ไม่ใช้ศูนย์กลาง แต่จะสร้างเครือข่ายข้อมูลแทน และมีความปลอดภัยกว่าระบบเดิม การทำงานของระบบblock chain จะเป็นการแชร์และเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น โดยบุคคลอื่นจะเห็นเป็นรหัสและใช้การเข้าถึงระบบข้อมูลผ่านการเข้ารหัสแบบระดับสูง ซึ่ง block chain มันเป็นเชื่อมของblock โดยต่อกันไปเรื่อยๆจนกลายเป็นโซ่ หากมีคนต้องการแฮ็กข้อมูลก็ต้องแฮ็กในส่วนของblockอื่นๆด้วย อีกทั้งเมื่อข้อมูลถูกใส่ลงไปในระบบนี้แล้วไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ระบบblock chain จึงเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง เชื่อถือได้ และระบบนี้ยังช่วยให้ประหยัดเวลา เพราะ เราสามารถส่งข้อมูลต่างๆผ่านอีกฝ่ายได้ โดยไม่ต้องไปรวมข้อมูลที่ศูนย์กลางก่อน ลดขั้นตอนระบบการทำงานให้มีความเรียบง่ายและรวดเร็ว

  12. บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบหนึ่ง ในแบบของบัญชีที่ไม่ได้เก็บไว้เป็นศูนย์กลาง(Distributed ledger)ที่กว้างระดับโลกอยู่ในคอมพิวเตอร์โดยทุกคนสามารถเข้าไปใช้ข้อมูลเหล่านี้ได้ อาจเป็นทรัพย์สินทุกรูปแบบ ตั้งแต่เงินจนถึงดนตรี ที่สามารถถูกเก็บไว้ เคลื่อนย้ายไป ซื้อขาย แลกเปลี่ยน และจัดการได้โดยไม่ต้องมีคนกลางหรือผู้ทรงอำนาจต่างๆ โดยการทำบล็อกเชน ข้อมูลจะถูกเก็บในblockและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ซึ่งเมื่อข้อมูลต่างๆถูกบันทึกในบล็อกเหล่านี้แล้ว เราจะไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆได้เพราะทุกคนในเครือข่ายล้วนมีสำเนาของบล็อกเชน และนอกจากนี้ข้อมูลที่บันทึกไว้จะถูกกระจายเป็นบัญชีที่แจกจ่ายไปทั่วโลกเป็นเหมือนห่วงโซ่ที่ทำให้บล็อกของข้อมูลลิ้งก์ไปยังทุกๆคนโดยที่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลนั้นจริงๆ ซึ่งบล็อกเชนใช้การเข้ารหัสระดับสูง ดังนั้นหากเราอยากจะแฮ็กข้อมูลจากบล็อกเหล่านี้ก็ต้องตามไปแฮ็กจากบล็อกก่อนหน้าไปเรื่อยๆซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ดังนั้นบล็อกเชนจึงเป็นสิ่งที่ปลอดภัยอย่างมากในการจัดเก็บข้อมูลทางธุรกรรมเหล่านี้ ดังนั้นข้อดีของบล็อกเชน ได้แก่ ช่วยแก้ปัญหาการเหลื่อมลํ้าได้เพราะ มีคนเข้ามามีส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจมากขึ้นและทุกคนได้ข้อมูลที่เท่าเทียมกันโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ทำให้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น
    ตัวอย่างการนำบล็อกเชนมาใช้ เช่น โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอล(บิทคอยน์)มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Leave a Reply